วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิวัฒนาการร้อยกรองไทย




              คำว่า  ร้อยกรอง  ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า  Poetry  บางครั้งก็เรียก  บทกวี  บท
ประพันธ์  หรือ  กวีนิพนธ์  คำว่าร้อยกรอง  เป็นคำที่สำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรม กำหนดขึ้นใช้เรียกวรรณกรรมที่มีลักษณะบังคับในการแต่งเพื่อให้เข้าคู่กับคำว่า  "  ร้อยแก้ว  "  ซึ่งเดิมบทประพันธ์ประเภทนี้ เรียกกันหลายอย่างเช่น  กลอน  กาพย์  ร่าย  ฉันท์ มีถ้อยคำมาประกอบประพันธ์กันมีขนาดมาตราเสียงสูงต่ำ หนักเบาและสั้นยาวตามรูปแบบที่กำหนดไว้
              คำว่าร้อยกรอง เราสามารถแยกศัพท์ได้เป็น   คำคือคำว่า  "  ร้อย  "  กับคำว่า
"  กรอง  "  ร้อยเป็นคำกริยา  หมายถึงการเรียงร้อย หรือการเรียบเรียงถ้อยคำหรืออาจจะเป็นดอกไม้ก็ได้  เช่น ร้อยดอกไม้คำว่ากรองเป็นคำกริยา  หมายถึงการเรียงร้อยกรองเมื่อรวมกัน หมายถึง  การกลั่นกรองหรือเรียบเรียงถ้อยคำเช่นเดียวกับที่เรานำดอกไม้มาร้อยเป็นพวงมาลัย
จะมีความงดงามแล้วก็อ่อนหวานไพเราะไม่ใช่ว่าเพียงแต่เอาถ้อยคำมาเรียงต่อกันเท่านั้น  มีคำที่น่าสังเกต คือคำว่า กวีนิพนธ์นักวิชาการบางท่าน ให้ความหมายแตกต่างไป จากร้อยกรอง คือ ร้อยกรองอาจจะเป็นคำประพันธ์ที่นำมาเรียงร้อยให้มีสัมผัสเท่านั้นแต่ว่า กวีนิพนธ์
กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์  ได้กล่าวไว้ว่ากวีนิพนธ์นั้น  เป็นการย่อยกรองถ้อยคำ เรียงถ้อยคำตามระเบียบข้อบังคับซึ่งได้แก่มาตราฉันทลักษณะ นั่นคือร้อยกรองทั่วไป  กวีนิพนธ์โดยแท้จะต้องแสดงความรู้สึกนึกคิดที่เป็นภาพอันงามด้วยกวีนิพนธ์เป็นสิ่งวอนใจเรารู้สึกนึกคิด  ทำให้เราสมใจในรสของภาษาและเห็นภาพความคิดต่าง ๆ  กระจ่างขึ้นกวีนิพนธ์เป็นลักษณะยอดเยี่ยมของวรรณคดีคำร้อยกรองนั้นเป็นเพียงเครื่องประดับประกอบของกวีนิพนธ์เท่านั้นเพราะฉะนั้นตามความหมายอันนี้ ก็จะได้ว่าร้อยกรองคือคำประพันธ์ทั่ว ๆ  ไป  ที่มีฉันทลักษณ์  แต่ถ้ากวีนิพนธ์จะต้องเป็นร้อยกรองที่มีลักษณะยอดเยี่ยม

 
ร้อยกรองสมัยสุโขทัย

              การปรากฏของร้อยกรองสมัยสุโขทัย
              การปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่   กล่าวถึงการละเล่นในสมัยนั้นว่า
” …เสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน.. ในสมัยสุโขทัยนี้มีการขับอยู่แล้วและถ้อยคำที่นำมาขับนั้นย่อม มีรูปแบบเฉพาะ หรือไม่มีรูปแบบ แต่อาศัยจังหวะการเอื้อนทอดเสียงให้ไพเราะ มีสัมผัสคล้องจองกันตามแบบฉบับร้อยกรองไทย ซึ่งก่อนหน้านั้นมีเพลงพื้นบ้าน ทำนอง ต่างๆเกิดขึ้นมาก่อนก็ได้ แสดงว่าร้อยกรองของไทยเกิดขึ้นแล้วก่อนสมัยสุโขทัย
                รูปแบบ
              จะมีรูปแบบคำประพันธ์ที่ไม่ชัดเชน แต่จะมีบางวรรคที่ร้อยสัมผัสใน ลักษณะร้อยกรอง เช่น เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าวหรือออกมา ในรูปของการเล่นคำซ้ำ เช่น เบื้องตะวันออกเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู มีไร่มีนาเพราะฉะนั้นจึงน่าจะสรุปได้ว่าร้อยกรอง ที่ปรากฏในสมัยโบราณและสมัยสุโขทัยนั้นยังไม่มีรูปแบบที่แน่นอน แต่ก็ถือได้ว่า มีคำร้อยกรองของไทยเกิดขึ้น และถ่ายทอดกันในรูปแบบของเพลงพื้นบ้าน




ร้อยกรองสมัยกรุงศรีอยุธยา

                    การปรากฏของร้อยกรองสมัยกรุงศรีอยุธยา
                ร้อยกรองสมัยนี้จะปรากฏในวรรณคดีเป็นส่วนมาก  แต่สูญไปบ้าง  ในระหว่าง สงครามก็ได้ ซึ่งยังพอมีหลักฐานในการร้อยกรองในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็น    ระยะ ได้แก่
                 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น(พ.ศ.๑๘๙๓๒๑๗๑) ปรากฏร้อยกรอง ดังนี้
                    ลิลิต  คือ  บทร้อยกรองที่ใช้โคลงและร่ายแต่งปะปนกัน  เช่น  ลิลิตโองการแช่งน้ำ  ลิลิตยวนพ่าย
                          โคลง  นิยมแต่งเป็นโคลงดั้น  เช่น  ลิลิตยวนพ่าย  มหาชาติคำหลวง  ส่วนโคลงสุภาพมีในมหาชาติคำหลวงและลิลิตพระลอ
                     ฉันท์  ปะปนในมหาชาติคำหลวงหลายบท
                     กาพย์  เช่นเดียวกับฉันท์

                    สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย(พ.ศ.๒๑๗๑๒๓๑๐)  ปรากฏร้อยกรองทุกประเภท ดังนี้
                        โคลง นิยมมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เช่น โคลงพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม กาพย์ห่อโคลงของพระศรีมโหสถ
                         ฉันท์ ใช้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ สมุทรโฆษคำฉันท์ อนิรุทธ์คำฉันท์ คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง เป็นต้น
                       กาพย์ นอกจากนิยมแต่งกับฉันท์แล้ว ยังนิยมแต่งเป็นกาพย์ห่อโคลง กาพย์เห่เรือ ซึ่งเป็นลักษณะของการแต่งโคลงปนกาพย์ ปรากฏในกาพย์ห่อโคลงเรื่องต่างๆ กาพย์ห่อโคลงประพาสทองแดง กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เป็นต้น
                       กลอน ปรากฏในรูปของกลอนเพลงยาวต่างๆ เช่น เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
          

รัตนโกสินทร์ตอนต้น
 
                 การปรากฏของร้อยกรอง
                 ในสมัยนี้ร้อยกรองไทยมีปรากฏในวรรณคดีต่างๆ เช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยาแยกประเภทได้ ดังนี้
             โคลง  มีแทรกอยู่ในลิลิตต่าง ๆ  เช่นลิลิตเพชรมงกุฎ  ลิลิตตะเลงพ่าย  หรือลักษณะที่เป็นโคลงล้วน  เช่น  โคลงนิราศนรินทร์  นิราศสุพรรณ  และโคลงโลกนิติ เป็นต้น
             ฉันท์  เช่น  อิเหนาคำฉันท์  กฤษณาสอนน้องคำฉันท์  สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนปลาย และมีตำราการแต่งฉันท์ขึ้นมาเป็นครั้งแรก
            กาพย์ มีปรากฏแทรกอยู่ในคำฉันท์สมัยกรุงธนบุรีบ้าง ส่วนสมัยรัตนโกสินทร์ ก็มีกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน กาพย์พระไชยสุริยา เป็นต้น
            กลอน ได้รับความนิยมสูงสุดมีทั้งที่แต่งเป็นนิทานคำกลอนและบทละคร เช่น รามเกียรติ์พระเจ้ากรุงธนบุรี รามเกียรติ์รัชกาลที่ ๑  บทละครเรื่องอิเหนา เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี กลอนนิราศต่างๆ
            ร่ายและลิลิต เช่น ลิลิตเพชรมงกุฎ ลิลิตตะเลงพ่าย
            กลบท ปรากฏมากในประชุมจารึกวัดพระเชตุพน และปรากฏเป็นบางส่วน ในกาพย์พระไชยสุริยา
             รูปแบบ
                 จะเป็นไปตามบทบัญญัติและลักษณะบังคับโดยเคร่งครัดทุกชนิด  เช่น
             โคลง ถือตามแบบฉบับของลิลิตพระลอว่าเป็นแบบที่ถูกต้อง โดยมีการอนุโลม ให้ใช้คำตาย คำเอกโทษและโทโทษได้
             ฉันท์  มีการแต่งตำราฉันท์มาตราพฤติและวรรพฤติของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสโดยคำฉันท์แต่ละชนิดได้กำหนดคณะให้เป็นรูปแบบได้
              กาพย์  มีการพลิกแพลงหรือดัดแปลงให้เป็นกาพย์กลอนที่มีลีลาที่แพรวพราวไปบ้าง เพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคมากขึ้น
              กลอน รูปแบบของกลอนสุนทรภู่ที่มีรูปแบบสวยงามและมีลีลาไพเราะที่สุด
              ร่ายและลิลิต เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ได้กำหนดรูปแบบของลิลิตขึ้นใหม่ ในลิลิตพระมงกุฎ ซึ่งก็ยึดถือตามกันมา
              กลบทและคำประพันธ์รูปแบบใหม่  ได้มีการคิดรูปแบบกลบท  และคำประพันธ์รูปแบบใหม่ขึ้นหลายชิ้น มีการฟื้นฟูเพลงพื้นบ้าน และการละเล่นต่างๆมากมาย
              คำสร้อย คือ คำที่เติมท้ายวรรคเพื่อเอื้อนเสียงให้ไพเราะ เพิ่มความสมบูรณ์ ของข้อความ ใช้ในโคลงและร่าย ได้แก่คำว่า พี่เอย สูงเอย นาพ่อ น้องนอ หนึ่งรา ก็ดี ฤๅแม่ ฤๅพ่อ เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น